รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 เมษายน 2563
เรื่อง : กนกวรรณ ยิ้มจู
ระหว่างที่เรากำลังหวั่นวิตกและปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามไปแทบทุกจังหวัดของประเทศไทยและในอีกหลายประเทศทั่วโลก ก็มีข่าวที่สร้างความตระหนกให้กับคนรักสัตว์เพิ่มเข้าไปอีก เมื่อมีการตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในสุนัขของครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศฮ่องกง
เจ้าตูบ น้องเหมียว ที่อยู่ใกล้ชิดคนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้หรือไม่ และสัตว์เลี้ยงแสนรักเหล่านี้จะเป็นพาหะแพร่ไวรัสโควิด – 19 ให้เราได้หรือเปล่า? เราต้องsocial distancing กับสัตว์เลี้ยงด้วยไหม
ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “โรคอุบัติใหม่ของมนุษย์ 80% มาจากสัตว์ป่า อย่างขณะนี้เรารู้แน่ชัดแล้วว่า ไวรัส COVID-19 มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว แต่สิ่งที่ยังไม่แน่ชัด และอยู่ระหว่างการศึกษาค้นคว้าก็คือสัตว์พาหะตัวกลางใดที่นำเชื้อมาถ่ายทอดสู่คนอีกทอดหนึ่ง”
ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับการพบเชื้อโควิด-19 ในสุนัขที่ประเทศฮ่องกงนั้น ยังไม่จัดเป็นการติดเชื้อ เพราะมีเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำและไม่แพร่กระจายจากตัวสุนัขมายังคน
ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ อธิบายหลักการของการติดเชื้อไวรัสว่า “คนมีสถานะเป็นตัวรับ หรือที่เรียกว่า receptor เปรียบเทียบได้กับ
“แม่กุญแจ” ส่วนเชื้อไวรัสเปรียบได้กับ “ลูกกุญแจ” ซึ่งการจะติดเชื้อไวรัสได้นั้น จำเป็นต้องมีเยื่อบุพันธุกรรมตรงกัน 3 ตำแหน่ง และเยื่อบุพันธุกรรมของคนและสุนัขหรือแมว มีลักษณะคล้ายกันเพียงเล็กน้อย หรือเพียง 1 ใน 3 ตำแหน่งเท่านั้น ดังนั้น การที่สุนัขรับเชื้อไวรัสไปเพียงเล็กน้อยจึงเรียกว่า “การปนเปื้อน” ไม่ใช่ “การติดเชื้อ”
อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรนอนใจ ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ เตือน
“ถ้าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสควิด-19 นอกจากจะแยกตัวเองออกจากสมาชิกในครอบครัวแล้ว ยังต้องแยกตัวเองจากสัตว์เลี้ยงด้วย”
เราอาจจะไม่ได้แพร่เชื้อโควิด-19 ไปให้สัตว์เลี้ยงโดยตรง แต่สัตว์เลี้ยงอาจนำพาเชื้อไวรัสมาให้เราหรือคนอื่นๆ ได้อีกทอดหนึ่ง
“การพาสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้านในช่วงที่มีการระบาด ยังคงต้องมีความระมัดระวัง เพราะธรรมชาติของสุนัขชอบดม เลีย และเชื้อไวรัสสามารถมี ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ตามขนสัตว์เลี้ยง ยกตัวอย่าง หากมีใครทิ้งหน้ากากอนามัยไม่ถูกวิธีแล้วสุนัขไปดมหรือเลียหน้ากากอนามัยนั้นเข้า พอเราไปสัมผัสหรือกอดสุนัขก็อาจจะทำให้เชื้อนั้นกลับมาสู่เราได้”
นอกจากสัตว์เลี้ยงแล้ว เราอาจต้องระวังเรื่องการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงปศุสัตว์ด้วย เช่น หมู ไก่ วัว เป็นต้น
“แม้ปัจจุบัน เราจะยังไม่แน่ชัดว่า จะมีการระบาดจากคนสู่สัตว์ได้หรือไม่ แต่ก็ไม่ควรประมาท มิเช่นนั้น อาจเกิดการระบาดจากสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์กลับสู่คนซ้ำได้อีก” ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ วารสาร CU Around
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้