ข่าวสารจุฬาฯ

“โอกาสในวิกฤตโควิด-19” ของธุรกิจสายการบินที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

นโยบายการล็อกดาวน์ที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ต่อสู้วิกฤตโควิด-19 มีผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจทั่วโลก นโยบายนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสายการบินที่ต้องหยุดให้บริการลง และเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้ลูกหนี้พักชำระหนี้ทั้งหมด พร้อมทั้งได้รับความช่วยเหลือทางการเงินอย่างทันท่วงทีจากผู้ถือหุ้นใหม่  หรือจากเจ้าหนี้ในการแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้มีโอกาสที่จะฟื้นฟูกิจการและกลับมามีรายได้และทำกำไรได้อีกครั้ง โดยยังคงสามารถรักษาทรัพย์สินเดิมของบริษัทได้ โดยไม่ถูกขายทอดตลาดเพื่อมาชำระหนี้ในระหว่างที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู

            กรณีของบริษัทการบินไทย ซึ่งผลการดำเนินงานมีปัญหาขาดทุนสะสมและมีหนี้สินจำนวนมหาศาลตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19  วิกฤตในครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนตัวเร่งที่สะท้อนให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังในอดีต  ศ.ดร.ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา  University of Western Australia ศ.ดร.ภรศิษฐ์ จิราภรณ์  Pennsylvania State University รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส  จากสถาบันบัณฑิตธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้นำเสนอบทความเรื่อง “โอกาสในวิกฤตโควิด-19” โดยกล่าวถึงสายการบินไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจว่าประสบปัญหาไม่แตกต่างจากสายการบินแห่งชาติอื่น ๆ และยังมีความสอดคล้องกับต้นทุนในการบริหารองค์กรของรัฐหรือค่าใช้จ่ายระบบราชการ โครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน มีระดับผู้บริหารและระดับผู้จัดการที่มากเกินความจำเป็น ระบบการตัดสินใจล่าช้าอันเนื่องมาจากรายละเอียดของงานมีความยุ่งยาก ส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจทำได้ยากและช้ากว่าคู่แข่ง มีกฎระเบียบและข้อบังคับมากเกินไป ทำให้ขาดความเป็นอิสระ เป็นต้น

            วิกฤตโควิด-19 คือโอกาสที่ให้สายการบินแห่งชาติเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือที่เรียกกันว่า Chapter 11 เร็วขึ้น และมีโอกาสที่จะมีการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมมาช้านานอย่างเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้มีการปรับโครงสร้างหนี้กว่า 350,000 ล้านบาท และปรับโครงสร้างองค์กรใหม่โดยผ่านระบบของศาลล้มละลาย แต่ประเด็นสำคัญที่ควรจับตามองคือ

      – ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการให้กับสายการบินแห่งชาติแห่งนี้เป็นที่ยอมรับจากเจ้าหนี้และลูกหนี้หรือไม่

      – ตัวแผนฟื้นฟูกิจการจะเป็นที่ยอมรับจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ สหภาพการบินไทย ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มากน้อยเพียงใด จะสามารถประนีประนอมเพื่อหาข้อยุติเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายภายใต้เงื่อนไขที่การบินไทยจะต้องกลับมาสร้างรายได้และทำกำไรได้อีกครั้ง

      – ผู้บริหารแผนเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นแรงผลักที่จะช่วยให้บริษัทการบินไทยสามารถผ่านกระบวนการฟื้นฟูนี้ได้สำเร็จ

            กระบวนการฟื้นฟูกิจการไม่ได้ง่ายและรวดเร็วอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการ ดังนั้น อนาคตของบริษัทการบินไทยโดยผ่านกระบวนการนี้จะเป็นไปในทิศทางใด บริษัทจะสามารถผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการ  ได้สำเร็จหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า