รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 กุมภาพันธ์ 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ฤดูแล้งปี 2564 ที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ เผชิญปัญหาน้ำประปาเค็มที่สุดในรอบ 20 ปี ผลพวงจากโลกร้อนจนน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลกระทบถึงแหล่งผลิตน้ำประปา วิศวกรจากจุฬาฯ คาดน้ำอาจเค็มไปจนถึงพฤษภาคมนี้ พร้อมแนะทางแก้ปัญหาและเสนองานวิจัยเทคโนโลยีแยกเกลือจากน้ำ
“น้ำประปาเค็ม” หน้าแล้ง ปัญหาใหญ่ที่คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องประสบทุกปีอย่างต่อเนื่อง จนปีนี้ความเค็มของน้ำเข้มข้นที่สุดในรอบ 20 ปี ซึ่งเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะป่วยเป็นโรคไตและความดันโลหิตสูงหากดื่มน้ำที่เจือปนเกลือหรือสารโซเดียมคลอไรด์เกินค่ามาตรฐานองค์การอนามัยโลก 250 มิลลิกรัมต่อวัน
“ในอนาคตปัญหาน้ำประปาเค็มในบ้านเราจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ” ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล นักวิชาการด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
“สาเหตุเกิดจากหนึ่ง น้ำทะเลหนุนสูง ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ น้ำทะเลจึงหนุนขึ้นมาปนกับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก สอง แรงดันน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ที่ลดลงในหน้าน้ำแล้งเนื่องจากถูกดึงไปทำการเกษตร มากถึง 70% และสาม ระบบประปา น้ำผิวดินจากแหล่งที่นำไปผลิตน้ำประปามีความเค็ม
การจะแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จอย่างยั่งยืนต้องแก้ทั้งสามเรื่องดังกล่าวไปพร้อมกัน โดยเฉพาะเรื่องแรงดันน้ำต่ำที่ต้องดึงหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง และที่เร่งด่วนไม่แพ้กันคือการดูแลคุณภาพน้ำดื่มสำหรับผู้บริโภค ในเรื่องนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เปิดให้บริการตรวจวัดค่าความเค็มของเกลือในน้ำด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดที่ทันสมัยระดับโลก พร้อมให้คำแนะนำระบบบำบัดที่เหมาะสมกับปัญหามลภาวะแก่หน่วยงานต่างๆ และประชาชนทั่วไป
นอกจากนี้กว่า 3 ปี ศูนย์ฯ ได้ร่วมมือกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ศึกษาวิจัยนาโนเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อแก้ปัญหาความเค็มในน้ำประปาด้วยวัสดุชนิดใหม่และใช้กระแสไฟฟ้าจับแยกอนุภาคเกลือออกจากน้ำซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “Electrodialysis”
“การกรองน้ำปกติแบบ RO (Reverse Osmosis) นอกจากการใช้ RO Membrane แล้ว เรายังทำงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วัสดุกรองน้ำหรือเมนเบรนใหม่ๆ ในการแยกเกลือออกจากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมมเบรนที่สามารถกักกรองอนุภาคระดับฟลูโอไรด์ที่มีขนาดเล็กละเอียดยิบมากที่สุดที่เรียกว่า Ultrafiltration Membrane และใช้พลังงานไฟฟ้า (Electrodialysis) ผลักดันอนุภาคเกลือออกไปจากน้ำโดยใช้แรงดันน้ำน้อยแต่ได้คุณภาพน้ำที่ดีเช่นกัน” อ.ดร.เจนยุกต์ โลห์วัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์ กล่าวถึงงานวิจัยที่ให้ผลน่าพอใจ
เทคโนโลยีทำน้ำเกลือให้จืดกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งคาดว่าอีกไม่ช้าทางศูนย์ฯจะได้นำออกมาให้บริการกับประชาชน ซึ่งในระหว่างนี้ อ. ดร.เจนยุกต์ แนะให้ผู้บริโภคดื่มน้ำที่ผ่านการระบบการกรอง อย่าง RO (Reverse Osmosis) ให้ถูกวิธีเพื่อสุขภาพ
“การกรองน้ำผ่านระบบ RO ผู้บริโภคจะได้น้ำที่สะอาด ปราศจากความเค็มจากโซเดียมคลอไรด์ แต่ก็ปราศจากแร่ธาตุทุกชนิดด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่เหมาะที่จะดื่มเป็นประจำเพราะจะทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุได้”
“วิธีการที่ดีคือให้นำน้ำที่ผ่านกระบวนการ RO อย่างสมบูรณ์มาผสมกับน้ำที่ผ่านกระบวนการกรองระดับเบื้องต้น คือ กรองความขุ่น กรองกลิ่นคลอรีนและกำจัดความกระด้างของน้ำ อย่างนี้ เราก็จะได้น้ำสะอาดที่มีความพอดี ไม่มีผลกระทบจากเกลือ แต่ยังคงมีแร่ธาตุสำคัญบางอย่างหลงเหลืออยู่” อ. ดร.เจนยุกต์ แนะ
นอกจากการดูแลน้ำดื่มภายในครัวเรือนแล้ว วิศวกรสิ่งแวดล้อมทั้งสองชักชวนให้ทุกคนช่วยกันลดการใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรักษาแรงดันน้ำในแม่น้ำให้เป็นปกติมากที่สุด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้หรือสำรองน้ำในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง (14.00 – 16.00 น.) ที่สำคัญ ลดการบริโภคอาหารรสเค็ม
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมระดับแถวหน้าของประเทศไทยและของโลกมีเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัยกับนานาชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ฯลฯ และสร้างแพลทฟอร์มของการวิจัยชั้นสูง รวมทั้งงานวิจัยการนำของเสียที่เป็นขยะทางสิ่งแวดล้อมให้เป็นของที่มีมูลค่า นอกจากนี้ยังให้บริการวิเคราะห์สารต่างๆ เชิงคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่ทันสมัยเพื่องานวิจัยเชิงลึก เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารอินทรีย์ในน้ำที่สกัดเป็นของเหลว เครื่องมือวิเคราะห์โซเดียมคลอไรด์และไมโครพลาสติกซึ่งเป็นมลพิษจากขยะในทะเล
หน่วยงานที่สนใจรับบริการต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ http://www.env.eng.chula.ac.th/
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้