รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 กรกฎาคม 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
โรคโควิด-19 ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับโลก ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตจากการระบาดของโรคนี้เป็นจำนวนมาก สร้างความตื่นตระหนกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก วิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 ในปัจจุบันจะใช้เทคนิค Real-time PCR เพื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 แต่วิธีดังกล่าวมีต้นทุนสูง จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่มีราคาแพงและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น จึงทำให้การดำเนินการตรวจวินิจฉัยนั้นไม่ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ
รศ.ดร.สัญชัย พยุงภร ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะผู้วิจัย ได้พัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรค โควิด-19 “COVID-19 SCAN” ที่มีราคาถูก ใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อน และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเทคนิค Real-time PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน
นวัตกรรมนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัยจุลชีววิทยาเชิงระบบ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านชีววิทยาเชิงระบบ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โดยสามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ เช่น ตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ (Nasopharyngeal swab/Throat swab) หรือตัวอย่างน้ำลายที่ผ่านกระบวนการสกัดสารพันธุกรรมและการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิเดียว (isothermal amplification) จากนั้นตรวจหาสารพันธุกรรมได้อย่างจำเพาะด้วยระบบ CRISPR-Cas12a หากสิ่งส่งตรวจนั้นพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 จะเกิดการเรืองแสงภายใต้เครื่องกำเนิดแสงสีฟ้า (Blue light transilluminator) ทั้งนี้นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID19 SCAN” มีประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยทางคลินิก มีความจำเพาะ 100% ความไว 96.23% และมีความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัย 98.78% ใกล้เคียงกับเทคนิค Real-time PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน
นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” มีความพร้อมของเทคโนโลยีระดับ 8 (Technology Readiness Level; TRL8) และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัทไมโคร อินเจคชั่น จำกัด (ประเทศไทย) เพื่อพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยจนเกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริงและเกิดประโยชน์เชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยนวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 นี้ได้รับการรับรองและอนุญาตให้ผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เลขที่ T6400049 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ดังนั้นนวักรรมนี้จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้การตรวจคัดกรองหรือวินิจฉัยโรคโควิด-19 สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและรวดเร็ว รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองเชิงรุกนอกสถานที่สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโควิด19 ตลอดจนผู้ติดเชื้อได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
ชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” ประชาชนทั่วไปไม่สามารถนำไปใช้เองได้ สอบถามรายละเอียดได้ที่ http://www.covidscan.tech/ หรือติดต่อ บริษัท ไมโคร อินเจคชั่น จำกัด อีเมล covid19scan@bkf.co.th ผ่านคุณสมฤดี 09-2247-0019 หรือคุณมณีรัตน์ 08-2299-6333
โครงการสัตวแพทย์ จุฬาฯ เพื่อสัตว์ยากไร้บนเกาะเสม็ด จ.ระยอง
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดโครงการอบรมครู “การพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะของนักเรียนในสถานศึกษา”
11 มิ.ย. 65 เวลา 09.00 น.
Zoom
การบรรยายวิธีการโอนย้ายข้อมูลจาก Google Drive มายัง OneDrive
7 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00 – 16.00 น.
Microsoft Teams
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับนิสิตและบุคลากร จุฬาฯ
จุฬาฯ กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมาย PDPA ที่นิสิตควรรู้
ความภูมิใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในวันรับปริญญาอันน่าภาคภูมิ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย