รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 ตุลาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือกับ สวทช. ในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และโปรแกรม CopyCatch โดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม เพื่อยกระดับการตรวจสอบและป้องกันการลอกเลียนงานวรรณกรรมของประเทศ
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม (โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และโปรแกรม CopyCatch)”
รศ.ดร.ธรรมนูญ หนูจักร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และอนุญาตให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจใช้งานเพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมโดยไม่คิดใช้จ่าย ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทำความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาฯ แล้วกว่า 150 แห่ง ซึ่งฐานข้อมูลอักขราวิสุทธิ์จะตรวจสอบข้อมูลวิทยานิพนธ์ วารสาร บทความ การลงนามความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้นับเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบงานวรรณกรรมเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างเข้มแข็งทางวิชาการและการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า สวทช. เห็นความสำคัญในเรื่องส่งเสริมเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism) ประเทศไทยมีโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งถือเป็นโปรแกรมหลักที่ใช้ในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมและพัฒนามาเป็นเวลานาน สำหรับโปรแกรม CopyCatch ของ สวทช. ก็ได้พัฒนามาในเวลาใกล้เคียงกัน ดังนั้นความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ทำให้การเชื่อมโยงฐานข้อมูลของทั้งสองโปรแกรมให้สามารถสื่อสารกันได้เพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรม นับเป็นนิมิตหมายที่ดียิ่ง เป็นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอีกขั้น และจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้มีการความเชื่อมโยงฐานข้อมูลอีกหลาย ๆ ฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้