รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
จุฬาฯ บ่มเพาะ 50 บริษัท “Deep Tech Startups” มูลค่ากว่า 1.67 หมื่นล้าน เปิด “คลับจุฬาฯ สปินออฟ” นำงานวิจัยและนวัตกรรมจากคณาจารย์จุฬาฯ ฟื้นเศรษฐกิจไทยจากวิกฤตโควิด-19 เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับนานาชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเปิดตัว “Club Chula Spin-off” ณ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งเป็นการรวมตัวของบริษัทสตาร์ทอัพในจุฬาฯ กว่า 50 บริษัทที่จะร่วมสร้างระบบนิเวศใหม่สำหรับนักวิจัยเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแชร์ประสบการณ์การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม และเป็นเครื่องยนต์ตัวใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและนำให้อาเซียนเติบโตในระยะยาว
ศ.ดร.นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประธานในพิธีเปิดงาน กล่าวว่า “กระทรวง อว. ได้เร่งดำเนินการสนับสนุนให้คณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ตัวอย่างการผลักดันที่เห็นเป็นรูปธรรมเด่นชัดคือการประกาศพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานของรัฐได้ นับเป็นก้าวสำคัญของการปลดล็อคอุปสรรคที่สำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง”
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “เราสปินออฟ…เพื่อชาติ” โดยกล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ รองรับเศรษฐกิจไทยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 จุฬาฯ นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ กลุ่ม Deep Tech Startups จัดตั้งบริษัท“สปินออฟ” สนองนโยบาย University Holding Company ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งพัฒนาวัคซีนจุฬาฯ-ใบยา ป้องกันโควิด-19 นำหน้าความสำเร็จของสตาร์ทอัพจุฬาฯ ซึ่งขณะนี้จุฬาฯ มีสตาร์ทอัพในคณะต่างๆ ที่พร้อมสปินออฟมากกว่า 50 บริษัท อาทิ Haxter Robotics ผลิตหุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วย MINEED สร้างนวัตกรรมนำส่งยาที่ละลายและซึมผ่านผิวหนัง Nabsolute พัฒนาสเปรย์เพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากผ้าป้องกันฝุ่น PM2.5, Tann D Innofood สร้างนวัตกรรมเส้นโปรตีนไข่ขาวเพื่อคนรักสุขภาพ Herb Guardian วิจัยพัฒนานวัตกรรมสเปรย์ฉีดพ่นลดฝุ่นละออง PM2.5 ฯลฯ รวมมูลค่าทางการตลาดกว่า 1.67 หมื่นล้านบาท โดยตั้งเป้าให้มูลค่าทางการตลาดของทั้งสตาร์ทอัพและสปินออฟจุฬาฯ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนแตะ 5 หมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปี
“เป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยที่ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง 2 ปีนี้ นอกจากการส่งออก การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศชั้นนำของโลก ด้วยบทบาทของจุฬาฯ นอกจากจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพรับใช้สังคม ยังมีบทบาทในการพัฒนาอาจารย์นักวิจัยเพื่อเป็นแกนนำในการสร้างนวัตกรรมช่วยเหลือประเทศชาติ และเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะสร้างสังคมของเราให้ยั่งยืนซึ่งจะเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่เราจะได้เห็นอาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ เข้ามามีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว
ผศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล ประธานชมรม Club Chula Spin-off กล่าวว่า Club Chula Spin-off เป็นการแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนสังคมไทยและประเทศชาติจากการพัฒนางานวิจัยในหลากหลายสาขา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัตกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งในอนาคตจะเปิดพื้นที่สำหรับทุกๆ ท่านให้มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความร่วมมือกัน จะเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนสังคมไทย ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างก้าวกระโดด
ผู้บริหารจุฬาฯ และ John von Neumann University ประเทศฮังการี ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2563 เป็นวันที่สอง
ลงนามความร่วมมือและประกวดข้อเสนอโครงการวิจัย ระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ชวนนิสิตจุฬาฯ ร่วมโครงการ “CU Freshy Smart”
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ให้บริการวิเคราะห์และทดสอบตัวอย่างพืชและรา
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดบรรยายธรรมเรื่อง สัมมาวาจา พูดดี ชีวิตงาม
1 มิถุนายน 2565 เวลา 12.00 – 13.00 น.
อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย