ข่าวสารจุฬาฯ

เภสัชศาสตร์  จุฬาฯ  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม

เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ เรือนจุฬานฤมิต ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ ภก.ประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด นิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์  จุฬาฯ  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม  โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิตในโครงการปริญญานิพนธ์ และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้

จุดเริ่มต้นของความร่วมมือในครั้งนี้เกิดจาก ศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง และ รศ.ภญ.ร.ท.หญิง ดร.ภัสราภา โตวิวัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการปริญญานิพนธ์ของนิสิตชั้นปีที่ 5 และเป็นผู้บริหารบริษัท เฮิร์บ การ์เดียน จำกัด ซึ่งได้เป็น spin-off จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 2562 ได้มองหาความร่วมมือจากบริษัทผลิตยาในการพัฒนานวัตกรรมโดยสอดแทรกประสบการณ์และแนวคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมลงไปในการเรียนการสอนและการวิจัยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิต รวมทั้งระดับนักวิจัยหลังปริญญาเอก เป้าหมายสำคัญคือต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยบริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด มีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ  คือ “นวัตกรรมคนไทยสร้างได้” ตามที่ ภก.ธนัท พลอยดนัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ได้กล่าวไว้

ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล และ อ. ดร.ศันธยา กิตติโกวิท  ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU innovation hub) กล่าวเสริมถึงวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Chula Innovations for Society) และตอกย้ำแนวคิด “Research University That Teaches

บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด เป็นบริษัทผลิตยาชั้นนำของประเทศไทย ดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 50 ปี ผลิตผลิตภัณฑ์ยา เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีความร่วมมือกันในครั้งนี้ บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด จะเข้ามาช่วยสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพของโครงการปริญญานิพนธ์ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต ตั้งแต่ขั้นตอนวิจัยและพัฒนา ให้นิสิตได้ทดลองทำจริง เรียนรู้จริง จากประสบการณ์จริง และได้ผลผลิตเป็นนวัตกรรมที่มีการใช้ประโยชน์ได้จริง เนื่องจากการวิจัยและพัฒนายามีหลายขั้นตอน บางขั้นตอนคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญ แต่ในบางขั้นตอน เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อทดสอบทางคลินิก หรือการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ประกอบการที่เป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในตลาดของอุตสาหกรรมยา

ความร่วมมือทางวิชาการ วิจัย และนวัตกรรมระหว่างบริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โดย บริษัท เฮิร์บ การ์เดียน จำกัดในครั้งนี้  แสดงถึงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทเอกชน ซึ่งทำให้นิสิตได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำโครงการปริญญานิพนธ์ทั้งในห้องปฏิบัติการและสถานการณ์จริง นิสิตได้วิจัยและพัฒนาตั้งแต่ในระดับห้องปฏิบัติการ จนสามารถออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ท้องตลาดได้

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า