รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 พฤษภาคม 2561
ข่าวเด่น
ณกมล เตชะพูลผล นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศโครงการประกวดภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสังคม ต่อต้านการทุจริต โครงการ True Young Producer Award ครั้งที่ 13 ในหัวข้อ”โกงไม่เท่” ได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้เดินทางไปทัศนศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น
โครงการ True Young Producer Award ครั้งที่ 13 เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้าร่วมการประกวดเป็นทีมๆ ละ 1 – 3 คน มีผู้ส่งผลงานภาพยนตร์เข้าประกวดในรอบแรกกว่า 800 ทีม จากนั้นคณะกรรมการจะคัดให้เหลือ 100 ทีม และ 20 ทีมเพื่อร่วม workshop และนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ โดยทีมที่ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายจะต้องผลิตภาพยนตร์ความยาว 1 นาที ซึ่งผลงานภาพยนตร์ของ ณ กมล ในชื่อทีม Low cost Production เป็น 1 ใน 10 เรื่องที่เข้าถึงรอบนี้ และเป็นนิสิตจุฬาฯเพียงหนึ่งเดียว
ณกมล เผยว่า การเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้เป็นโอกาสที่จะได้เสริมประสบการณ์การทำงานจริงทางด้านงานโฆษณาที่เธอสนใจ ซึ่งเธอทำหน้าที่ทั้งการเป็นผู้กำกับการแสดง คนคิดเรื่อง และตัดต่อ ผลงานภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมีชื่อว่า “พ่อของหนูเท่ที่สุด” เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงชั้นประถมต้นคนหนึ่งที่ต้องพูดสุนทรพจน์หน้าชั้นเรียนในหัวข้อ “พ่อของฉันเท่ที่สุด” ต่อหน้าพ่อและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งเนื้อหาที่เด็กน้อยพูดนั้นเป็นการเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่บุคคลต้นแบบเช่นพ่อของตนเองได้ทำลงไป โดยที่เด็กไม่รู้ว่าสิ่งที่พ่อทำนั้นเป็นสิ่งที่ผิด ทำให้พ่อของเด็กรู้อยู่แก่ใจและสำนึกได้ว่าการโกงไม่เท่
“ก่อนลงมือสร้างภาพยนตร์โฆษณา ได้ทำการวิจัยจนได้ข้อมูลว่าการโกงเกิดจากการเห็นคนอื่นโกงแล้วจึงโกงตาม ทำให้การโกงเป็นวงจรที่ไม่จบสิ้น การตัดปัญหาที่ต้นเหตุคือผู้ใหญ่ที่โกงให้คนรุ่นหลังได้เห็น จะได้ผลดีกว่า” ณกมล กล่าว นอกจากนี้เธอยังได้แนะนำเพื่อนๆให้ส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆเพราะจะทำให้รู้ว่าโลกภายนอกก้าวไปถึงไหนแล้ว การแข่งขันในยุคนี้สูงมาก ถ้าเราไม่ขวนขวาย ไม่เข้าร่วมการแข่งขัน จะเหมือนการตัดโอกาส ในการไขว่คว้าหาประสบการณ์ที่ดี อย่ากลัวว่าทำไม่ได้
ปัจจุบัน ณกมล สำเร็จการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในหลักสูตร Coommunication Design และได้ทำงานเป็นครีเอทีฟที่บริษัทโอกิลวี แอนด์ เมเธอร์
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้