รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 พฤษภาคม 2561
ข่าวเด่น
ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะโรงอาหารและตามชั้นต่างๆ ในสำนักงานมหาวิทยาลัย จะพบเห็นตู้กดน้ำสีชมพูหรือบางที่เป็นตู้กดน้ำสแตนเลสตั้งอยู่ ตู้กดน้ำเหล่านี้มักทำให้เกิดคำถามในใจของผู้ใช้ว่าสะอาดปลอดภัยจริงหรือไม่?
ลบภาพตู้กดน้ำดื่มสาธารณะที่มีการเจือปนของเชื้อโรคไปได้เลย เพราะโครงการ Chula Zero Waste ใส่ใจในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ดื่มน้ำสะอาด สามารถนำแก้วน้ำ ขวดน้ำ หรือกระบอกน้ำส่วนตัวที่ใช้ซ้ำได้มารองรับน้ำดื่ม เป็นการช่วยลดขยะที่เกิดจากขวดพลาสติก นอกจากจะทำให้มหาวิทยาลัยสะอาดแล้ว ยังช่วยนิสิตและบุคลากรประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มเพื่อบริโภคในแต่ละวันอีกด้วย
ตู้กดน้ำดื่มสีชมพูของโครงการที่มีให้บริการมากกว่า 40 ตู้ รวมถึงตู้กดน้ำสแตนเลสดั้งเดิมอีก 30 ตู้ ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย สะอาด ปลอดภัย มีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยมีบริษัทที่รับผิดชอบเข้ามาเปลี่ยนไส้กรองทุก 3 เดือนและมีทีมงานจากภาควิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมาช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มทุก 6 เดือน
การตรวจวัดแบคทีเรีย โดยใช้ชุดทอดสอบโคลิฟอร์มและอีไคไลในน้ำและน้ำแข็ง(Test Kit Microbial “Compact Dry EC” for E.coli and Coliform) ที่ได้มาตรฐาน AOAC(PTM) : No.081001 และ Microval : No.2008-LR14 โดยการแปลผลหลังบ่มเชื้อเป็นเวลา 20 – 24 ชั่วโมงแล้ว หากมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียจะปรากฏจุดสีให้เห็น
มาตรฐานน้ำดื่มของกระทรวงสาธารณสุขและกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ต้องไม่พบอีโคไลแบคทีเรียในน้้า 100 มิลลิลิตร และโคลิฟอร์มแบคทีเรียต้องน้อยกว่า 2.2 ในน้ำ 100 มิลลิลิตร ซึ่งในการทดสอบนี้ใช้ตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร ดังนั้นต้องไม่พบจุดสีฟ้าและสีม่วงแดงจึงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน*
(*ที่มา : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่135) พ.ศ.2534 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2521)
สำหรับโลหะหนักที่ทำการทดสอบในโครงการนี้ประกอบด้วย เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), คอปเปอร์ (Cu) และปรอท (Hg) ตรวจวัดด้วยเครื่อง Inductively Coupled Plasma – Optical Emission Plasma (ICP-OES) โดยมีมาตรฐานน้ำดื่มของกรมควบคุมมลพิษจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค เป็นตัวกำหนดค่าในการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มทุกครั้ง
ผลสรุปจากการตรวจสอบคุณภาพตู้น้ำดื่มทั้ง 2 ชนิด (ตู้กดน้ำใหม่และตู้กดน้ำสแตนเลส) ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาปรากฏว่าไม่พบการปนเปื้อนทั้งจากโคลิฟอร์ม ลีไคไล และโลหะหนัก รวมไปถึงการตรวจเช็คสภาพการใช้งานของตู้กดน้ำ เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ตู้กดน้ำได้ทุกจุดอย่างปลอดภัย
ทีนี้ก็มั่นใจได้ว่าตู้กดน้ำดื่มภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสะอาดปลอดภัย ไว้ใจได้อย่างแน่นอน อย่าลืมพกภาชนะส่วนตัวมาเติมน้ำดื่มสะอาดบริการฟรีได้ที่จุดให้บริการตู้กดน้ำทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพราะรักจึงจัดตู้กดน้ำให้ พกกระบอก(น้ำ) ลดขยะ มาเถอะมาช่วยกัน Together we can มั่นใจเราทำได้
อ้างอิงข้อมูลจากผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำดื่มพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2560 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ
นิสิต BBA จุฬาฯ กวาดรางวัลจากเวทีระดับโลก ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมมือ สสส. – พม. สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานคนไร้บ้าน
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้