รู้จัก “เขียด-กบ” ชนิดใหม่ของโลก หน้าตาไม่น่ารัก แต่สำคัญต่อระบบนิเวศ

อ.ดร.ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้วิจัยสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างต่อเนื่องร่วมมือนักวิจัยเยอรมนีและเมียนมาร์ พบกบลำธาร 2 ชนิดใหม่ของโลกที่เมียนมาร์ ตัวแรกคือกบลำธารพะโค หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Limnonectes bagoensis ส่วนกบอีกชนิดคือกบป่าไผ่พะโค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Limnonectes bagoyoma โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อ.ดร.ภาณุพงศ์ และนักวิจัยจากเยอรมันได้ค้นพบ “เขียดชนิดใหม่ของโลก” ในประเทศเมียนมา ซึ่งได้รับการประกาศชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phrynoglossus myanhessei
การค้นพบสิ่งมีชีวิตเช่นเขียดและกบลำธารในประเทศเมียนมาเป็นภาพสะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทุกฝ่ายควรตระหนักและร่วมอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย