รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
นิสิตจุฬาฯ ร่วมใจปลูกป่าที่ จ.น่าน ครั้งที่ 6 ภายใต้โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่าน เมื่อวันที่ 17 – 20 กุมภาพันธ์ 2566 ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องจากโครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่านทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/105696/
โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่าน ครั้งที่ 6 มีนิสิตเข้าร่วมโครงการจำนวน 74 คน ประกอบด้วยนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ 28 คน (เป็นนิสิตต่างชาติปริญญาเอก 8 คน นิสิตแลกเปลี่ยนจากญี่ปุ่น 1 คน) นิสิตสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร 8 คน และเครือข่ายกิจการนิสิต 38 คน มีการปลูกต้นยางนา ยางเหียน เต็ง รวมทั้งสิ้น 300 ต้น
การปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนที่ จ.น่านในครั้งนี้ เป็นการปลูกป่าโดยใช้ 3 วิธีการคือ 1.การใช้กล้าไม้ที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา ซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มอัตราการรอดของต้นไม้ โดยราเอคโตไมคอร์ไรซาจะสร้างดอกเห็ด สามารถนำไปบริโภคและเป็นแหล่งรายได้ของชาวบ้าน 2.ใช้ไบโอพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer) ช่วยในการอุ้มน้ำ ชะลอการระเหยของน้ำพอลิเมอร์ชีวภาพที่ผสมกับดินที่ใช้ปลูก จะช่วยอุ้มน้ำเพื่อชะลอการไหลและช่วยเก็บรักษาน้ำ แร่ธาตุและสารอาหารไว้ในบริเวณที่มีการปลูกต้นไม้ 3.การปลูกป่าไล่ระดับ และการปลูกป่าแบบมิยาวากิ (Miyawaki Method) ซึ่งคิดค้นโดย Prof.Dr.Akira Miyawaki ทำให้สภาพป่าฟื้นตัวได้เร็วกว่าการปลูกแบบดั้งเดิม
การปลูกต้นไม้ให้อะไรมากกว่าที่คิด เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไม้ช่วยผลิตออกซิเจน ประโยชน์ของต้นไม้ยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ ช่วยดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและช่วยให้อุณหภูมิลดลง นอกจากนี้ต้นไม้ยังมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
โครงการปลูกป่าโดยนิสิตจุฬาฯ ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาฯ ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ในครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ปลูกจิตสำนึกของนิสิตจุฬาฯ ในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าในจังหวัดน่านซึ่งประสบปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ป่าน่านอุดมสมบูรณ์และสร้างความยั่งยืนสืบไป
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ 2 หัวข้อในโครงการ “Architecture and Design for Society Lecture Series AY2024”
นวัตกรรมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ประเภทนวัตกรรมการบริการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์”
ศศินทร์ เสริมทักษะนักลงทุนให้นิสิตด้วย TradingView
เชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “แผนที่ประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ 2515”
23 กันยายน - 8 พฤศจิกายน 2567
ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิต โครงการ “MDCU Give Blood for All”
30 ก.ย. - 4 ต.ค. 67
ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้