รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 มีนาคม 2568
ภาพข่าว
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวโครงการต้นแบบแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผสมผสานแนวคิด “มรดกเมืองสามัญ” เพื่อนำเสนอคุณค่าของมรดกที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากจุฬาฯ และความร่วมมือจากนักวิจัยฝรั่งเศส หวังให้เกิดการอนุรักษ์และต่อยอดสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
การสัมมนาการนำเสนอต้นแบบแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ภายใต้โครงการจัดทำแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริงกับเครือข่ายวิจัยนานาชาติสู่การต่อยอดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568 ณ ห้องการแสดงและกิจกรรมของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ โดยมีนายปัทมนิธิ เสนาณรงค์ หัวหน้าฝ่ายนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กล่าวต้อนรับ รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิจัย จุฬาฯ และนายสานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา จากนั้นเป็นการนำเสนอภาพรวมและความเป็นมาของโครงการ โดย รศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการวิจัย ต่อด้วยการบรรยายพิเศษ “Fieldwork restitution: Subjects, Frameworks and Project Hypothesis” และการนำเสนอต้นแบบแผนที่มรดกเมืองสามัญกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนักศึกษาจาก ENSA Paris-Belleville สถาบันการศึกษาด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของประเทศฝรั่งเศส
โครงการจัดทำแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองมรดกเมืองสามัญที่เคยดำเนินแล้วผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน สู่การสร้างฐานข้อมูลมรดกเมืองสามัญที่นำไปสู่การจัดทำต้นแบบแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยนวัตกรรมการทำแผนที่ใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับรู้คุณค่าของมรดกเมืองสามัญด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์ในวงกว้าง สามารถขยายผลไปสู่การเป็นแหล่งรวบรวมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ และการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบและบริการในระยะต่อไป
รศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า การจัดทำแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านอาหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับมรดกชุมชนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยเน้นศึกษา “มรดกเมืองสามัญ” ซึ่งเป็นมรดกที่ถ่ายทอดผ่านชีวิตประจำวันของชุมชน ไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุโบราณหายาก แต่เป็นสิ่งที่มีการสืบทอดและมีคุณค่าทางวัฒนธรรม งานวิจัยนี้ได้รับการพัฒนาร่วมกับนักวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มต้นพื้นที่นำร่องที่บางลำพูซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญของมรดกชุมชน เช่น อาหารพื้นถิ่น ตึกแถวเก่า และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ซ่อนอยู่ในชุมชน
รศ.ดร.ปริญญ์ กล่าวว่าการนำแผนที่มรดกชุมชนมาใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทำให้ได้ข้อมูลมาพัฒนาเป็นแผนที่มรดกชุมชนต้นแบบโดยนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้ทดลองออกแบบแผนที่ในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากแผนที่ 2 มิติแบบดั้งเดิม และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่ายขึ้น แผนที่ดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงครื่องมืออนุรักษ์มรดกชุมชน แต่ยังเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่น นอกจากงานวิจัยแล้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้ผนวกกระบวนการเรียนการสอนเข้ากับการวิจัยในลักษณะของ Living Lab สำหรับให้นิสิตทำงานภาคสนามในชุมชนจริงและพัฒนาโครงการร่วมกับภาคีจาก ENSA Paris-Belleville ประเทศฝรั่งเศส นิสิตได้รับโจทย์จากชุมชนโดยตรง และได้นำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาแผนที่ต้นแบบ โดยเชื่อมโยงมรดกชุมชนเข้ากับสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
ทั้งนี้ โครงการแผนที่มรดกชุมชนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดทำขึ้นนี้มีเป้าหมายหลักที่จะช่วยสร้างการรับรู้และให้คุณค่ากับมรดกชุมชน 2 ด้าน ได้แก่ งานวิจัยและพัฒนาแผนที่มรดกชุมชน ด้วยการขยายผลต้นแบบที่พัฒนาไปสู่การใช้งานจริงและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และการเรียนรู้ของนิสิต เพื่อให้นิสิตได้ฝึกทักษะจากสถานการณ์จริง เสริมสร้างความเข้าใจในมิติทางวัฒนธรรมและการออกแบบที่ตอบโจทย์สังคม
“คาดหวังว่าผลลัพธ์จากโครงการนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้ โดยพื้นที่บางลำพูจะเป็นตัวอย่างให้ชุมชนอื่นนำไปต่อยอดในการพัฒนาตนเองผ่านมรดกวัฒนธรรม นอกจากนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังวางแผนขยายโครงการไปยังพื้นที่อื่น ๆ เช่น บางขุนเทียน และบางโพ เพื่อสร้างแนวทางที่ยั่งยืนในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนผ่านมรดกทางวัฒนธรรมต่อไป ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการอนุรักษ์มรดกชุมชนให้คงอยู่และมีบทบาทในสังคมยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างของการบูรณาการระหว่างการวิจัย การศึกษา และการพัฒนาสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจและความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานของชุมชนไทย” รศ.ดร.ปริญญ์ กล่าวทิ้งท้าย
รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบและเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคม โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย Quickwin จากจุฬาฯ เป็นโครงการที่ดำเนินงานโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งส่งเสริมทั้งทางด้านเศรษฐกิจของท้องถิ่น ตลอดจนอนุรักษ์ ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน นับเป็นตัวอย่างงานวิจัยที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนและสร้างความยั่งยืน รวมทั้งเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป คณะผู้วิจัยโครงการนี้นำโดย รศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย ได้ลงพื้นที่ สำรวจ สัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ สร้างกระบวนการร่วมกับชุมชน และพัฒนาต้นแบบแผนที่มรดกเมืองสามัญ ในนามของจุฬาฯ ขอขอบคุณพี่น้องในชุมชนที่เปิดโอกาสให้นิสิตได้มาเรียนรู้และทดลองปฏิบัติงานจริง (Living Lab) รวมถึงกรุงเทพมหานครที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้อย่างดียิ่ง
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปในพิธีต้อนรับเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” เยือนประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้