รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 สิงหาคม 2562
ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง “ปลุกนวัตกรรมภาครัฐ : จากไอเดียสู่ Big Impact” เพื่อเผยแพร่ต้นแบบนวัตกรรมงานบริการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2562 สู่สาธารณชน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดต้นแบบนวัตกรรมงานบริการภาครัฐสู่การปฏิบัติจริง โดยมี ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. และ Mr.Renaud Meyer, Resident Representative โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนา
การประชุม “ปลุกนวัตกรรมภาครัฐ : จากไอเดียสู่ Big Impact” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนานวัตกรรมงานบริการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2562 หรือ Gov Lab ดำเนินการโดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือ UNDP ประจำประเทศไทย ด้วยความร่วมมือของ G-Lab มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Research and Design Service Center KMUTT (Redek) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา และกรุงเทพมหานคร
ในปีงบประมาณ 2562 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พัฒนางานบริการภาครัฐ จำนวน 5 โครงการ จนเกิดเป็นต้นแบบนวัตกรรมงานบริการภาครัฐ ประกอบด้วย
– ด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ “แอพลิเคชันใบสั่งงานมัคคุเทศก์” ช่วยลดระยะเวลาและความยุ่งยากเมื่อมัคคุเทศก์ถูกเจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบระหว่างการนำเที่ยว
– ด้านการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ “แพลตฟอร์มได้โอกาส” เปลี่ยนผู้ด้อยโอกาสให้เป็นผู้ได้โอกาส
– ด้านงานตรวจคนเข้าเมือง ได้แก่ “ระบบติดตามคนต่างด้าวแบบบูรณาการ” เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนของการรายงานตัวคนต่างด้าว
– ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ได้แก่ “SMEs Export Accelerator” เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ SMEs และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
– ด้านการศึกษา ได้แก่ “โมเดลการจัดการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ” การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน
ศศินทร์เปิดหลักสูตรระยะสั้น Radical Innovation in Family Business: Transforming for the Future
18 - 19 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 - 16.30 น. ศศินทร์
จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต” เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลกและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร Durham University สหราชอาณาจักร หารือความร่วมมือทางวิชาการ
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอบรมเฉพาะทางระยะสั้น “World Class Destination Development”
จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคมไทย “ตายมากกว่าเกิด”: สิ่งนี้เป็นโอกาสหรือวิกฤตต่อความยั่งยืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้