รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น
จุฬาฯเปิดหนึ่งร้อยห้องพักในสองอาคารของมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับสมาชิกประชาคมที่พักฟื้นจากการติดเชื้อ COVID-19 และผู้ที่เข้าข่ายการสืบค้นโรค (Patient under Investigation หรือ PUI) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่พัก
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ลุกลามขยายตัวและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกินกำลังที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายๆ แห่ง จะรองรับได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พยายามเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ โดยการจัดตั้งโครงการ CU V Care เพื่อรองรับบุคลากรและนิสิตจุฬาฯที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองได้ ตลอดจนผู้ที่เข้าข่ายการสืบค้นโรคหรือ PUI (ผู้เข้าข่ายสงสัยว่าจะติดเชื้อเพราะสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ)
ภายใต้โครงการ CU V Care ทางมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงอาคารจุฬานิเวศน์ สำหรับบุคลากรหรือนิสิตที่ติดเชื้อ COVID-19 และได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้น และหอพักจำปาสำหรับผู้ที่เข้าข่ายการสืบค้นว่าติดเชื้อหรือไม่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาคมจุฬาฯ และลดปัญหาปัญหาเตียงคนไข้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่ไม่เพียงพอ
มหาวิทยาลัยได้วางแผนในการดูแลบุคลากรและนิสิตกลุ่มนี้ในด้านสุขภาพ โดยศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ สำนักบริหารระบบกายภาพ จะได้ร่วมกันดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ของการใช้ชีวิตของบุคคลทั้งสองกลุ่มโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ยกเว้นค่าอาหาร
ในระยะต่อไปจุฬาฯ มีแผนจะขยายการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อรายอื่นๆ จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นอกเหนือจากสมาชิกประชาคมจุฬาฯที่มีอาการดีขึ้นแล้วให้เข้ามาพักที่อาคารดังกล่าวด้วย รวมทั้งประสานงานกับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ เพื่อใช้อาคารในพื้นที่เชิงพาณิชย์ของจุฬาฯ ในการรับผู้ป่วยมาพักเพิ่มขึ้น
“นโยบายของจุฬาฯ ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยและการดูแลสุขภาพของประชาคมจุฬาฯ ให้ดีที่สุด สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมาก เราจึงได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการดูแลเรื่องสุขภาพ จัดสถานที่รองรับ และมีระบบดูแลสุขภาพทางใจด้วย จึงอยากให้ความมั่นใจว่าจุฬาฯ มีระบบในการดูแลสุขภาพประชาคมจุฬาฯ เป็นอย่างดีตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ติดเชื้อและ PUI มีสุขภาพที่ฟื้นคืนมาอย่างดีที่สุด” ศ.นพ.ดร.นรินทร์ กล่าว
ศ.นพ.ดร.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยอธิการบดีด้านแผนและยุทธศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการเตรียมความพร้อมของจุฬาฯ ในเรื่องที่พักสำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่ติดเชื้อ COVID-19 และ PUI ว่าจะใช้จุฬานิเวศน์สำหรับรองรับกลุ่มแรก และหอพักจำปาสำหรับกลุ่มหลัง โดยจะสามารถรองรับได้ประมาณที่ละ 50 เตียง ซึ่งได้มีการเตรียมระบบรองรับทางด้านกายภาพและด้านการแพทย์ไว้พร้อมให้บริการได้ตั้งแต่วันพุธที่ 25 มีนาคมเป็นต้นไป
สำหรับวิธีการคัดเลือกผู้ที่จะมารับบริการที่ CU V Care ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จะคัดเลือกผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่มาก และต้องเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการสังเกตอาการจากโรงพยาบาลมาแล้วว่ามีอาการดีขึ้นและปลอดภัยเพียงพอที่จะส่งกลับมาให้จุฬาฯ ดูแลต่อ โดยมีทีมแพทย์ พยาบาลจากศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ คอยประสานติดตามอาการผู้ป่วยทุกวัน ถ้ามีอาการแย่ลงก็จะส่งกลับไปโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อตรวจรักษาต่อไป
ทั้งนี้ การดูแลจะแบ่งออกเป็นสองระดับคือ ผู้ที่เป็น PUI ไม่แสดงอาการจะให้ดูแลตัวเองเหมือนคนปกติ มีห้องพักส่วนตัวให้แต่ใช้ห้องน้ำรวมที่อาคารจำปา ส่วนผู้ป่วยที่มีผลเลือดจากการทดสอบตามมาตรฐานเป็นบวก ก็จะจัดให้อยู่ห้องเดี่ยว มีห้องน้ำในตัวที่อาคารจุฬานิเวศน์ ทั้งสองอาคารมีอาหารให้บริการ มีการจัดการเรื่องขยะอย่างเป็นระบบ และมีระบบติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยภาพรวมน่าจะช่วยลดการติดเชื้อระหว่างคนในครอบครัวของสมาชิกประชาคมจุฬาฯ ได้เพราะไม่ต้องกลับไปอยู่ปะปนกันที่บ้าน
ในส่วนของบุคลากรที่เข้ามาช่วยในโครงการนี้จะเป็นอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่มาจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่สำนักบริหารระบบกายภาพ คนงาน คนสวน ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 40 คน อาสาสมัครเหล่านี้จะได้รับการอบรมเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลป้องกันตัวเองในด้านต่างๆ จากอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้อ จัดทำคู่มือสรุปข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันตนเอง วิธีการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดทีมบริหารที่เฝ้าระวังจัดการเรื่อง COVID-19โดยตรงเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่อไป
ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาฯ กล่าวถึงหอพักจำปาที่จะใช้เป็นที่พักของสมาชิกประชาคมจุฬาฯ ที่เป็น PUI ว่า ที่เลือกอาคารนี้เพราะเป็นอาคารหอพักนิสิตซึ่งมีบริเวณพื้นที่ที่แยกส่วน มีทางเข้าทางออกที่แยกออกจากพื้นที่อื่นๆ
แม้อาคารนี้จะใช้สำหรับ PUI แต่จะใช้มาตรฐานคล้ายคลึงกับการดูแลผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่ที่ดูแลจะได้รับการฝึกอบรมจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ชัยพรกล่าวว่าต้องขอขอบคุณนิสิตที่ย้ายตัวเองออกมาเพื่อให้หอพักว่างสำหรับปรับใช้ในสถานการณ์นี้ และยังต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เป็นอาสาสมัครดูแลประชาคมที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเหล่านี้
สำหรับการดูแลนิสิตทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทางจุฬาฯ มีหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนแผนการดูแลด้วยการให้บริการให้คำปรึกษาออนไลน์ในกรณีที่นิสิตมีความกังวลโดยเฉพาะในประเด็นของ COVID-19 โดยตรง
ทางด้าน ผศ.ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ กล่าวถึงการจัดที่พักสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นที่อาคารจุฬานิเวศน์ว่า แต่เดิมเป็นอาคารที่พักของบุคลากรและกำลังจะได้รับการปรับปรุง มีทั้งสิ้น 4 ชั้น ขนาดห้องละประมาณ 32 ตารางเมตร สภาพแวดล้อมมีความเหมาะสม อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเป็นอาคารแยกจากอาคารอื่น มีระยะห่างจากอาคารอื่นไม่ต่ำกว่า 10 เมตร
มหาวิทยาลัยจะเตรียมคู่มือการปฏิบัติตนเมื่อเข้าพักอาศัย ซิมโทรศัพท์สำหรับการติดต่อสื่อสาร และของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันไว้ให้ เช่น เครื่องมือทำความสะอาด จาน ชาม พัดลม ที่นอน ถังขยะ ฯลฯ
สิ่งของที่ผู้เข้าพักต้องใช้ร่วมกัน ก็คือ ห้องซักผ้า มีชั้นละ 1 จุด รวม 4 จุด และ จุดทิ้งขยะ ซึ่งจะจัดจุดทิ้งขยะไว้ที่ชั้น 1 กรณีที่ผู้เข้าพักออกจากห้องได้แล้ว จะมีการทำความสะอาดห้องและฆ่าเชื้อตามมาตรฐานทางสาธารณสุขก่อนรับผู้เข้าพักรายใหม่ นอกจากนี้จะมีเจ้าหน้าที่ประจำและอาสาสมัครจำนวนกว่า 50 คน เพื่อปฏิบัติงานในอาคาร ซึ่งได้รับการอบรมวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลมากที่สุด แบ่งเป็น 4 ฝ่าย คือ
การปฏิบัติงานในแต่ละวัน จะจัดเวรผลัดเปลี่ยนกันทำงานเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ผลัดแรกเวลา 06.00 – 14.00 น. และผลัดสองเวลา 14.00 – 22.00 น. โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและจิตอาสาทั้งหมดจะไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้เข้าพัก การติดสื่อสารหลักจะใช้วิธีออนไลน์หรือโทรศัพท์ หากจำเป็นต้องพูดคุยกัน จะกำหนดระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ผู้ปฏิบัติงานและอาสาสมัครทุกคนจะได้รับการตรวจเช็คสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหลังจากจบโครงการและมหาวิทยาลัยจะมีการทำประกันสุขภาพให้ทีมงานทุกคนด้วย
โปรโมชั่นฉลองเทศกาลรับปริญญาจุฬาฯ GRADUATION GIFTS 2023
การเปิด – ปิดประตูจุฬาฯ และการจัดการจราจรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565
อบรม “การเพิ่มศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสียในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ”
16 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
“ประติมากรรมเสียงสวรรค์” ศิลปะผสานเทคโนโลยีที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากสถาบันหลักของโลก 2 แห่ง Times Higher Education 2024 และ QS World University Rankings 2024
ไหว้พระจันทร์ปีนี้ ขอพรเจ้าแม่ทับทิม ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ เสริมสิริมงคลชีวิตรุ่งเรือง
29 ก.ย. 66 19.00 น.
อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้