รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
ภายใต้วิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลให้มหาวิทยาลัยถูกปิด การเรียน การสอนจัดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ความไม่เท่าทียมในการเข้าถึงชั้นเรียนออนไลน์ กิจกรรมวิจัยและวิชาการ ที่ต้องเลื่อนหรือชะงัก เหตุการณ์เหล่านี้ย้ำเตือนว่าความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากพิจารณาอีกมุมหนึ่ง ในสถานการณ์เช่นนี้ยังสามารถสร้าง “โอกาส” อันเป็นผลกระทบเชิงบวกได้เช่นเดียวกัน
ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอบทความ “มหาวิทยาลัยไทย : พลิก COVID-19 สู่โอกาส” แนะนำและรวบรวมตัวอย่างโอกาสของมหาวิทยาลัยไทยที่จะพลิกวิกฤตให้สามารถสร้างประโยชน์และเพิ่มคุณค่าใหม่ๆ ในการดำเนินภารกิจทุกด้านให้ประสบความสำเร็จ ในโลกที่ทุกอย่างปราศจากความแน่นอนและต้องปรับเปลี่ยนอยู่ในทุกขณะ โดยแบ่งออกเป็น 7 โอกาส คือ
มหาวิทยาลัยต้องปรับการเรียนการสอนสู่โลกออนไลน์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ มหาวิทยาลัย อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาในการพบโอกาสในการเรียนการสอน ปรับความเชื่อเดิมเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ รวมทั้งนำมาต่อยอดในหลากหลายรูปแบบของการเรียนรู้
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทหยุดชะงัก เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยต้องทบทวนและออกแบบนวัตกรรมหลักสูตรและโมดูลการเรียนรู้ใหม่ๆ พัฒนาระบบ Integrated Program Micro-Credential หรือ Digital Certificate เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปหลังสถานการณ์ COVID-19
ระบบการรับสมัครเข้าศึกษาต่อที่ยึดรูปแบบและหลักเกณฑ์ตายตัวจากสถาบันหรือหน่วยงานต้นสังกัดอาจไม่เพียงพอ กลุ่มผู้เรียนที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 23 ปี จะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของคนที่จะเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอีกต่อไป ดังนั้นการวางรูปแบบการสมัครเข้าศึกษาต่อควรมีความยืดหยุ่น (Flexible) ให้มหาวิทยาลัยสามารถเพิ่มช่องทางและโอกาสการรับผู้เรียนกลุ่มใหม่ได้มากขึ้น ให้ผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้เข้าถึงมหาวิทยาลัยได้ทุกคนและทุกเมื่อ
วิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดปัญหาทางด้านระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคมหลากหลายประเด็น สิ่งที่ตามมาคือโจทย์ของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆของมหาวิทยาลัยในทุกคณะ/สาขาวิชาเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากโรคระบาดและภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
การปฏิวัติกลไกการทำงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้ Digital Transformation เป็นเป้าหมายของทุกมหาวิทยาลัยที่ต้องการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการทำงานให้มีความรวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ซับซ้อน มีความคล่องตัว COVID-19 จึงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิตอลและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้กับการทำภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
การระบาดของไวรัส COVID-19 นิสิตนักศึกษาและบุคลากรล้วนต้องได้รับการดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในรั้วมหาวิทยาลัย จึงเป็นโอกาสให้มหาวิทยาลัยได้พัฒนาสวัสดิการสุขภาพ นโยบายและมาตรการที่ได้มาตรฐานทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรประเภทอื่นนำไปปฏิบัติตามได้ด้วย
การระดมทุนหรือเงินบริจาคเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป้าหมายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาและสร้างผลกระทบเชิงบวก (Impact) ในวงกว้าง ย่อมเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยในการระดมทุนเมื่อแก้ไขปัญหาอื่นๆ ตั้งแต่ระดับชุมชนรอบมหาวิทยาลัย จนกระทั่งถึงปัญหาระดับโลก
ผู้สนใจสามารถอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ http://www.urm.chula.ac.th/opportunityheicovid/
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปในพิธีต้อนรับเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” เยือนประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 “From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้