รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก และ ดร.เดนนิส แคร์รอล ประธานโครงการ Global Virome Project ร่วมงานเปิดตัวการจัดตั้ง “สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ” ผ่านการถ่ายทอดสดทางแฟนเพจ Graduate Affairs Faculty of Medicine, Chulalongkorn University โดยได้รับเกียรติจาก Dr.Dennis Carroll ผู้มีชื่อเสียงระดับโลกด้านโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน Leadership Board ของโครงการ Global Virome Project และเป็นกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการของสำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก ได้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ “Preventing the Next Pandemic: The Power of Global Health Security and Collaboration”
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ระดมคณาจารย์และนักวิจัยในการทำงานเชิงรุกเพื่อตอบโจทย์ปัญหาท้าทายในสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดของ COVID-19 โดยได้จัดตั้งสำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก (School of Global Health – SGH) ขึ้น ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้บุกเบิกการจัดตั้งสำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก กล่าวว่า ปัจจุบันโลกต้องการความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ เรากำลังเผชิญกับภัยพิบัติรูปแบบที่มีความซับซ้อนและความไม่แน่นอน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งใจที่จะขับเคลื่อนต่อยอดความรู้และความเชี่ยวชาญของคณาจารย์และนักวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม และสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่พร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาสุขภาพโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยการทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย และต่อเนื่องกับผู้มีประสบการณ์ในศาสตร์ต่างๆ จากสถาบันพันธมิตรและทุกภาคส่วนทั่วโลก สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลกมุ่งมั่นที่จะเติมเต็มช่องว่างและสร้างความเชื่อมโยง บูรณาการข้ามศาสตร์ เปิดเวทีการจัดการและแบ่งปันความรู้ให้เกิดประโยชน์และสร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพอย่างแท้จริง
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า นักวิชาการและมหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญมาก เราต้องก้าวและเสริมกำลังไปด้วยกัน เพื่อช่วยประเทศเตรียมความพร้อมรองรับในทุกด้าน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบนิเวศน์ของการทำงานและการสนับสนุน การวิจัย และการสร้างกำลังคนที่มีความรู้และทักษะตอบสนองกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และนี่เป็นเป้าหมายสำคัญของสำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลกการจัดตั้งสำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก มีเป้าหมายในการเป็นแพลตฟอร์มรวมการบริหารหลักสูตรนานาชาติ เพื่อยกระดับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมทั้งผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เสริมกำลังคนที่มีสมรรถนะ และศักยภาพสูงให้ตรงกับความต้องการของสังคมในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลสุขภาวะ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังสร้างระบบและเครือข่ายทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยจากทุกภูมิภาคของโลก ในการตอบโจทย์ที่ท้าทายด้าน Global Health รวมทั้งความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ และยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงเครือข่ายและองค์กรทั้งในระดับประเทศและนานาชาติที่เอื้อต่อการผลิตอีกด้วย
ทั้งนี้ ได้กำหนดหลักสูตรและการเรียนการสอนต่างๆ ครอบคลุมความรู้ที่เป็นปรัชญาของสถาบัน คือ โรคอุบัติใหม่และโรคเขตร้อน โรคไม่ติดต่อ และนโยบายสาธารณสุข แบ่งเป็นระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เช่น สาขาวิชาเวชศาสตร์คลินิก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพระดับปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เช่น สาขาวิชาเวชศาสตร์คลินิก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และชีวเทคโนโลยี โดยจะเปิดรับนิสิตนักศึกษาในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่สนใจเพื่อศึกษาในระดับปริญญาโท-เอก เข้าหลักสูตรนานาชาติในแขนงต่างๆ ทางด้านสุขภาพโลก “รุ่นแรก” เดือนสิงหาคมปีนี้
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณบุณฑริกา พงษ์นิวัติเจริญ โทร. 0-2256-4475 ต่อ 15 อีเมล school.global.health@chula.md เว็บไซต์ https://sgh.md.chula.ac.th และรับชมคลิปวิดีโอ การเปิดตัวย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/grad.md.chula/videos/1057297041745026
ดร.เดนนิส แคร์รอล
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิต โครงการ “MDCU Give Blood for All”
30 ก.ย. - 4 ต.ค. 67
ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
นิสิต BBA จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกจากการแข่งขัน ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024: วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน
SHECU จัดประชุมเครือข่ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 ชูแนวคิด Digital Transformation เพื่อยกระดับความปลอดภัยระดับประเทศ
วิศวฯ จุฬาฯ จับมือประเทศญี่ปุ่น เสริมสมรรถภาพโครงสร้างพื้นฐานไทย พร้อมรับมอบระบบทดสอบความล้ามูลค่า 19 ล้าน
โครงการ “เล่นเพลิน” ต้อนรับปิดเทอมสำหรับน้อง ๆ ปฐมวัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้