รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 ตุลาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุม 1002 ชั้น 10 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมหารือกรอบความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับคุณบัณฑูร ล่ำซำ และสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวท ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการผลิตวัตถุดิบทางยาจากสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานสูง เกษตรกรท้องถิ่นได้รับประโยชน์สูงสุด ตอบสนองความจำเป็นด้านสาธารณสุขและความต้องการของสังคม โดยมี ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน จากนั้นเป็นการฉายวีดิทัศน์แนะนำศูนย์พัฒนากระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์และสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ในโอกาสนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานและบรรยายพิเศษ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล นำเสนอความก้าวหน้าและความสำเร็จในการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของจุฬาฯ และโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งแก่งคอย จากนั้น คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย บรรยายพิเศษเรื่อง “น่านแซนด์บอกซ์” หลังจากจบการบรรยาย เป็นพิธีมอบของ ที่ระลึกและถ่ายภาพร่วมกัน
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งเน้นการเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม และเป็นแหล่งอ้างอิงทางยา ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากสมุนไพรให้แก่นิสิต ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปี 2555 มอบหมายให้คณะฯ จัดตั้งศูนย์พัฒนากระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์และสมุนไพร ณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายแห่งชาติด้านยาที่มุ่งเน้นวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีความต้องการสารสกัดสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่มีมาตรฐานสูงและมีคุณภาพคงที่ในปริมาณที่มากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตยาในหมวดยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์คุณภาพจากสมุนไพร ศูนย์พัฒนากระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์และสมุนไพรมุ่งเน้นการต่อยอดและบูรณาการผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะ เชื่อมโยงกับศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาฯ พัฒนากระบวนการผลิตสารสกัดสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านวัตถุดิบทางยาของประเทศ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยเชื่อมโยงกับท้องถิ่นในการคัดเลือกพืชและการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่มีศักยภาพในการเป็นวัตถุดิบต้นน้ำทางยา ลดการนำเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศ รองรับโอกาสการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตยาและสมุนไพรของประเทศในระยะยาว
เชิญชมนิทรรศการตลาดนมและผลิตภัณฑ์นม สระบุรีพรีเมียมมิลค์ ในวันดื่มนมโลก
1 มิถุนายน 2565 เวลา 12.00 - 19.00 น.
นิสิตนักกีฬาจุฬาฯ คว้า 13 เหรียญรางวัล การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2021 ที่เวียดนาม
ผู้บริหารจุฬาฯ และคณะผู้แทนจาก James Cook University ประเทศสิงคโปร์ หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ ร่วมแสดงความยินดีกับหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจก้าวสู่ปีที่ 46
27 พฤษภาคม 2565
บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน)
Siam Square จัดกิจกรรม Siam Walking Street Fest 27 -29 พฤษภาคม 2565
27 พ.ค. 65 เวลา 13.00 น.
สยามสแควร์
ค่ายอบรมโครงการ “Envi Mission : ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม”
ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย