รู้ลึกกับจุฬาฯ

“ไทย” พบ “ทรัมป์”

แม้จะถูกบดบังด้วยข่าวกราดยิงผู้ฟังคอนเสิร์ตที่ลาสเวกัส ซึ่งมีความสูญเสียเป็นประวัติการณ์ไปบ้าง แต่ข่าวนายกรัฐมนตรีของไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าพบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ก็ยังดูจะเป็นข่าวที่คนไทยจำนวนหนึ่งให้ความสนใจ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนแรกในรอบ

12 ปี ที่เดินทางไปหารือกับประธานาธิบดีของสหรัฐ ถึงทำเนียบขาว และได้หารือกันแบบทวิภาคีในห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office)

ประเด็นสำคัญของการหารือในครั้งนี้คือ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐ  ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่สหรัฐขาดดุลด้วย  ขณะเดียวกันก็เป็นภาพสะท้อนว่าการให้ “ลำดับความสำคัญ” (priority) อย่างแรกขณะนี้ของรัฐบาลสหรัฐ คือปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าการส่งเสริมด้านประชาธิปไตย เพราะที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐจะไม่ยอมรับผู้นำที่มาจากวิธีอันไม่เป็นไปตามประชาธิปไตย

ผศ.ดร.ปราณี ทิพยรัตน์ อาจารย์จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า นโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐรายนี้คือ America First อย่างที่เคยระบุไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งว่า อะไรก็ตามที่ไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐ จะยกเลิกให้หมด

“ยกตัวอย่างเช่น TPP (Trans Pacific  Partnership) หรือเขตการค้าเสรีแปซิฟิก ทรัมป์มองว่าส่งผลเสียต่อสหรัฐ จึงยกเลิก เพราะทุกวันนี้สหรัฐมีปัญหาเศรษฐกิจ ยิ่งเฉพาะประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มักจะได้ดุลสหรัฐตลอด เขาเลยอยากเข้ามาแก้ส่วนนี้”

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไทยถือเป็นผู้นำประเทศแถบอาเซียนรายที่ 3 ต่อจากผู้นำเวียดนามและมาเลเซียที่ได้เข้าพบประธานาธิบดีทรัมป์ เป็นภาพสะท้อนว่าสหรัฐต้องการเข้ามาถ่วงดุลอำนาจในเอเชียแปซิฟิก ภายหลังที่จีนได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

“ต้องบอกว่าไทยกับสหรัฐถือเป็นพันธมิตรเก่าแก่มานานมาก ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงมีผลประโยชน์ร่วมกัน อย่างแรกคือผลประโยชน์ด้านความมั่นคง การพบกันระหว่างทรัมป์กับ พล.อ.ประยุทธ์ นอกจากจะไปพบกันเรื่องเศรษฐกิจแล้ว ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก”  ผศ.ดร.ปราณีกล่าว

เรื่องอื่นๆ ที่ว่าได้แก่ความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะที่ผ่านมา สหรัฐเองก็ยอมรับว่าไทยมีบทบาทในการส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยในการ

แก้ปัญหาระดับนานาชาติ เช่น ปัญหาทะเลจีนใต้ ปัญหาเรื่องรัฐยะไข่ โรฮิงญา ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี รวมถึงปัญหาการค้ามนุษย์ ที่ทางไทยได้มีการเชิญนางอิวานกา ทรัมป์ ลูกสาวประธานาธิบดีซึ่งสนใจงานด้านนี้ให้มาดูงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในไทย

ผศ.ดร.ปราณี กล่าวว่า การพบกันระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ และโดนัลด์ ทรัมป์ ยังเป็นภาพสะท้อนด้วยว่า ปัจจุบันสหรัฐยอมรับผู้นำที่มาจากอำนาจทางการทหาร และไม่ได้สนใจที่มาที่ไปของผู้นำประเทศมากเท่ากับเรื่องการค้าขาย หรือปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศตนเอง ซึ่งหากเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคเดโมแครตอาจมีท่าทีต่างออกไปจากนี้

อย่างไรก็ดี มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ว่า  การที่ไทยต้องไปพบสหรัฐเพื่อไปเจรจาเรื่องการค้าการลงทุน และการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมาไทย เป็นการเสียเปรียบในเชิงเศรษฐกิจ และไทยอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร

ซึ่ง ผศ.ดร.ปราณีมองว่า ควรแยกแยะให้ออกระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพราะการไปเยือนสหรัฐครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีไทย มีตัวแทนจากภาคธุรกิจของไทยไปด้วย “เอกชนถ้าเขาไม่เห็นประโยชน์ เขาคงไม่ทำธุรกิจกัน จะบอกว่าเราควักเนื้ออย่างเดียว เราเสียเปรียบอเมริกัน

มันก็ไม่ถูก เพราะทางสหรัฐเองก็อยากขายของ ไทยก็อยากขายด้วย อยู่ที่ว่าหลังจากนี้เราจะต้องพิจารณาว่าจะซื้อไหม ไม่ใช่ว่าเขาขายอะไรมาแล้วเราต้องซื้อหมด”

ทั้งนี้ สหรัฐมีการใช้สารเร่งเนื้อแดง ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ที่อยู่ในเนื้อหมูที่ส่งออก หากส่งออกมาไทยจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค แต่อาจารย์ปราณีระบุว่าไทยสามารถปฏิเสธสินค้าที่เห็นว่าไม่เหมาะสมได้ หรือใช้มาตรการทางกฎหมายลด

การนำเข้า เช่น ตั้งกำแพงภาษีสินค้าบางประเภท เป็นต้น

อาจารย์ปราณีระบุเพิ่มเติมอีกว่า ในการเจรจารูปแบบทวิภาคีของผู้นำประเทศ จะต้องมีทั้งส่วนได้ส่วนเสียของ

ทั้งสองฝ่าย แต่ต้องอิงอยู่กับประโยชน์ของประชาชน และนอกจากผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย

ยังเป็นการยกระดับของความสัมพันธ์ในเชิงการเมือง การที่ไทยไปพบสหรัฐครั้งนี้ ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกับการพบกันระหว่างผู้นำของทั้ง 2 ประเทศ

แต่ในฐานะที่สหรัฐเป็นชาติมหาอำนาจของโลก การพบกันระหว่างไทยกับสหรัฐ ก็ถือว่าเป็นการแสวงหาโอกาสและ

ผลประโยชน์ที่ดี ควรได้รับการส่งเสริม แต่ก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้หากเห็นว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ดี ควรวิพากษ์วิจารณ์ด้วยข้อเท็จจริงตามข้อมูลที่มี และอ่านให้ชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันด้วยเรื่องอะไร เป็นประโยชน์ต่อทั้งประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนมากน้อยเพียงใด

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า