งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์
เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะนอน

ดำเนินโครงการโดย: ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และแพทย์หญิงจิรดา ศรีเงิน
เกี่ยวกับโครงการ: อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ที่เป็นอาการสำคัญในผู้ป่วยพาร์กินสัน สามารถเกิดได้ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน ขณะนอนร่วมด้วย โดยเฉพาะอาการในช่วงเวลากลางคืนจะทำให้ผู้ป่วยพลิกตัวลำบาก ลงจากเตียงช้าและลำบาก เคลื่อนไหวขณะนอนน้อยกว่าปกติ จากการศึกษาในอดีตพบอุบัติการณ์ของการเคลื่อนไหวน้อยขณะนอนในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ถึงร้อยละ 96 ในขณะที่กลุ่มควบคุมที่อายุใกล้เคียงและสุขภาพแข็งแรง (สูงอายุ) พบประมาณ ร้อยละ 4 ซึ่งการเคลื่อนไหวน้อยในช่วงนอนทำให้เกิดปัญหาสำคัญตามมาได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ เกิดอุบัติเหตุเช่นการตกเตียง หกล้ม หรือ ปอดอักเสบจากอาการสำลักได้ เป็นต้น
นักวิจัยได้พัฒนาคิดค้น เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นและเชิงมุม ประกอบด้วย ชุดรับสัญญาณและแปลงสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลบันทึกแผ่น SD Card ภานในตัวเครื่องและนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป โดยชุดรับสัญญาณประกอบด้วย ชุดรับสัญญาณเชิงเส้น (Accerelometer) และชุดรับสัญญาณเชิงมุม (Gyroscope) ซึ่งมีชุดรับสัญญาณดังกล่าวเป็นชุดรับสัญญาณที่นำมาใช้ผลิตเครื่องตรวจวัดการเคลื่อนไหว เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายมีความแม่นยำสูงและมีความคลาดเคลื่อนต่ำ ทำการตรวจวัดโดยติดชุดรับสัญญาณบริเวณทำการติดตั้งเครื่องมือวัดการเคลื่อนไหว 5 จุด คือ ข้อมือ 2 ข้าง ข้อเท้า 2 ข้าง และบริเวณกลางลำตัว เพื่อประเมินปัญหาการเคลื่อนไหวลำบากขณะนอน สำหรับการปรับการรักษาต่อไปในอนาคต
จุดเด่น
- สามารถนำเครื่องมีการวัดการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยพาร์กินสัน แบบที่ติดกับตัวผู้ป่วยตลอดเวลาทำให้สามารถวัดการเคลื่อนไหวได้ทุกช่วงรวมถึงใช้ในการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
- แพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือสาขาประสาทวิทยาสามารถนำเครื่องมือไปใช้ในการตรวจวัดการเคลื่อนไหว ของผู้ป่วยเพื่อช่วยในการติดตามอาการตอนกลางคืนได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย