รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ไกวัล ติโลกะวิชัย
เพลง “จามจุรีเกมส์” เป็นเพลงประจำของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 (19-26 พฤศจิกายน 2536) โดยอาจารย์ที่ดูแลวงซียูแบนด์ และซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาฯ มีความคิดว่า ควรจะแต่งเพลงประจำการแข่งขัน โดยเฉพาะเพราะถ้าวงดนตรีจุฬาฯ สามารถบรรเลงได้ก็ จะเป็นจุดที่แปลก และน่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่สามารถนำวงออร์เคสตรา ที่มีสมาชิกจำนวน 100 คน ประกอบด้วย สมาชิกจากวงซียูแบนด์ จำนวน 20 คน จากวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาฯ 70 คน นักร้องชาย-หญิงอีก 10 คน และเครื่องดนตรีอีกนับร้อยชิ้นมาร่วมบรรเลงในพิธีเปิดได้ เนื้อหาของเพลงมีความหมายสอดคล้องกับคำขวัญของการแข่งที่ว่า “น้ำใจ สามัคคีจามจุรีเกมส์” และเป็นเพลง ที่ผู้แต่ง และผู้ผลิต อาทิ เพิ่มเกียรติ นิลพังงา ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ตลอดจนผู้ขับร้องหญิงล้วน เป็นนิสิตเก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนผู้ขับร้องชาย เป็นนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพลงนี้ เป็นเพลงป๊อบ ที่ส่วนสร้อยของเพลงได้นำไปทำ สปอต เพื่อการประชาสัมพันธ์ของงานด้วย ผู้ร้อง ได้แก่ ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
ระเบิดแรงกายทุ่มเทลงไป ฝ่าฟันด้วยหัวใจนักกีฬา ดุจดั่งตะวันส่องอยู่บนฟ้า ส่องนำแสงมา ณ เส้นชัย จะเหน็ดจะเหนื่อยไม่เคยท้อแท้ ชนะหรือแพ้วัดกันที่ใจ จะอดจะทนด้วยใจและกาย นี่คือความหมายของการกีฬา (สร้อย) สวมใจนักสู้สู่สนามแข่งขัน มัดใจต่อใจซึ่งกันและกันเพื่อนผองน้องพี่ เราต่างแข่งกันให้โลกระบือ เราต่างจับมือสานสร้างไมตรี นี่คือน้ำใจและสามัคคี แห่งจามจุรีเกมส์ จะหยุดเวลาหยุดนาที สุดใจพร้อมพลีเต็มพลัง ประหนึ่งเปลวไฟแห่งความหวัง หากยังร้อนแรงยิ่งกว่าไฟ จะเจ็บจะปวดไม่เคยท้อแท้ ชนะหรือแพ้วัดกันที่ใจ จะฝากจะฝังชื่อจารึกไว้ นี่คือความหมายของการกีฬา (สร้อย)
ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย