รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
เอื้อ สุนทรสนาน
แก้ว อัจฉริยะกุล
ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๐ – พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งสำคัญ วิถีชีวิตและความบันเทิงในรูปแบบของชาวตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่การดำเนินชีวิตของสังคมชาวเมือง เช่น วัฒนธรรมการสวมหมวก วัฒนธรรมในการสนทนา เหล่านี้เป็นต้น การเต้นรำนับเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความบันเทิง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในสโมสรต่างๆ ในพระนคร ทั้งระดับผู้บริหาร ข้าราชการ ประชาชน และนิสิต นักศึกษา ในระยะนั้น วงดนตรีสุนทราภรณ์ของครูเอื้อ สุนทรสนาน จะเป็นผู้บรรเลงดนตรีสำหรับการเต้นรำบอลรูมทั่วไป รวมทั้งงานประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย ทุกครั้งที่ครูเอื้อนำวงมาบรรเลงให้จุฬาฯ ท่านมักจะประพันธ์เพลงขึ้นใหม่เพิ่มเติม และเพลง “ดาวจุฬาฯ” นี้ ครูเอื้อได้ แต่งขึ้นไว้เคียงคู่กับเพลง “ดาวสังคม” ซึ่งเป็นเพลงประจำวงสุนทราภรณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงสุภาพสตรีที่มีความเด่นปรากฎในสังคมยุคนั้น ในขณะที่สุภาพสตรีที่มีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยก็มีปรากฏเป็นจำนวนน้อย อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนอยู่เพียงไม่กี่แห่ง นิสิตหญิงที่ศึกษาอยู่ที่จุฬาฯ จึงมีความเด่นไปด้วยในสังคม
ภายในจุฬาฯ เขตจามจุรีรั้วสีชมพู เห็นนางคนหนึ่งงามหรู สวยเป็นดาราที่รู้ทั่วไป แม่เป็นขวัญตาแก่ชาวจุฬาฯ สมค่าพึงใจ จะมองแห่งใด ถูกตาถูกใจ ไม่มีแห่งไหนลวงตา ชวนนิยม โฉมที่คนงามข่มคำกวี เฉิดฉวี รัชนี มิเทียมเทวี แม่เป็นศรีจุฬาฯ รูปสอางค์ รูปอย่างนางฟ้าสรรค์สร้างให้มา เกิดเป็นดาวจุฬาฯ เด่นดาราเหล่าจุฬาฯ ต่างก็พากล่าวว่านางสวยเฉิดฉันท์ โสภาผ่องพรรณ แม่งามกว่าจันทร์ เหมือนขวัญจุฬาฯ สวยจนดาวอื่นอิจฉา เย้ยดวงดาราหมดฟ้ารวมกัน แม่งามละมุน เกิดมาคู่บุญเนื้ออุ่นลาวัลย์ เหล่าชายผูกพัน จุฬาฯ ใฝ่ฝันเพียงยิ้มเท่านั้นลานใจ ดาวสังคมนั้นยังงามไม่ข่มดาวจุฬาฯ งามหนักหนา แม้นใครมาเห็นดาวจุฬาฯ ตื่นผวาอาลัย กล่าวให้ซึ้ง พร่ำรำพึงมิได้ครึ่งทรามวัย ดาวจุฬาฯ คือใครอยู่ที่ใดเลิศวิไล เด่นปานใด เหล่าจุฬาฯ รู้ข่าวนั้น
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้